กรรมวิธีการผลิตเกลืออย่างอื่น
1. การผลิตเกลือด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ (Solar salt, Sea salt)
เป็นการผลิตแบบโบราณโดยอาศัยแสงอาทิตย์และลม เป็นตัวระเหย น้ำเกลือจากน้ำทะเล ทะเลสาบน้ำเค็ม และน้ำเกลือที่สูบจากใต้ดิน บนลานตากขนาดใหญ่
การผลิตเกลือจากน้ำทะเล เรียกว่า การทำนาเกลือสมุทร
การผลิตเกลือจากน้ำเกลือที่สูบจากใต้ดิน เรียกว่า การทำนาเกลือสินเธาว์
2. การทำเหมืองใต้ดิน (Rock salt)
ทำการขุดเจาะอุโมงค์ลงใต้ดิน เพื่อทำการผลิตด้วยเครื่องจักรกล หรือ ระเบิด นำเกลือจากชั้นแร่เกลือหินโดยตรง การผลิตเกลือแบบนี้ทำเป็นเมืองขนาดใหญ่มีกำลังผลิตมาก ผลิตเพื่ออุตสาหกรรมโดยตรง
3. กรรมวิธีการผลิตเกลือ ที่บริษัท เกลือพิมาย เลือกใช้
การทำเหมืองละลาย (Solution mining for salt) และ การใช้เครื่องระเหย (Evaporator)
เป็นการผลิตเกลือที่อาศัยเทคโนโลยี โดยการสูบอัดน้ำจืดลงไปละลายชั้นเกลือหินใต้ดิน ที่ความลึกประมาณ 200 เมตร น้ำเกลือเข้มข้นที่ได้จะถูกสูบขึ้นมาเข้ากระบวนการทำให้น้ำเกลือบริสุทธิ์ (Purified Brine) และผ่านเข้าเครื่องตกผลึกเกลือ (โดยอาศัยการระเหยของไอน้ำ) ที่เพิ่มอุณหภูมิน้ำเกลือภายใต้สภาวะสุญญากาศ จนเกลือตกผลึก จากนั้นนำเกลือชื้นที่ได้เข้าเครื่องสลัดน้ำและอบแห้ง พร้อมเติมสารป้องกันการจับตัวเป็นก้อน
แหล่งเกลือในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ลักษณะธรณีวิทยาของภาคตะวันออกเฉียงเหนือถูกรองรับด้วยชั้นเกลือหินที่มี ปริมาณถึง 18 ล้านล้านเมตริกตัน แหล่งเกลือหินเหล่านี้อยู่ใต้ผิวดินเพียง 30 เมตร ถึง 1,000 เมตร แบ่งได้ 2 แอ่งใหญ่
1. แอ่งเหนือ (สกลนคร) คลุมพื้นทีจังหวัดอุดรธานี หนองคาย สกลนคร และนครพนม เป็นเนื้อที่ประมาณ 17,000 ตารางกิโลเมตร
2. แอ่งใต้ (โคราช) คลุมพื้นที่จังหวัดขอนแก่น มหาสารคาม กาฬสินธุ์ ร้อยเอ็ด ยโสธร อุบลราชธานี นครราชสีมา ชัยภูมิ สุรินทร์ และบุรีรัมย์ เป็นเนื้อที่ประมาณ 33,000 ตารางกิโลเมตร